
เมื่อย้ายเข้า ต้องขอแจ้งตม.ทุกครั้ง
ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อ ท่องเที่ยว หรือทำงานที่ต่างประเทศ เอกสารต่าง ๆ มีความสำคัญ ต้องเตรียมพร้อมให้เรียบร้อยอยู่เสมอ โดยเฉพาะการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยไปทำงานต่างประเทศ หรือชาวต่างชาติมาทำงานในประเทศไทย ก็ต้องมีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว และตรวจเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพ Work Permit เพื่อให้มั่นใจว่า แรงงานที่จะเข้ามามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมปฏิบัติงานได้เต็มที่
แรงงานต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย หรือทำงานในไทยต้องแจ้งตม.ทุกครั้ง
ทุกครั้งที่แรงงานต่างด้าวเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทย จะต้องทำการแจ้งไปยัง ตม.ทุกครั้ง ซึ่งเป็นข้อบังคับตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 และต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึงหากมีการเปลี่ยนที่พักอาศัยด้วย คือ
1. เมื่อแรงงานต่างด้าวเข้ามาพักครั้งแรก เจ้าของที่พักนั้น ๆ มีหน้าที่ต้องแจ้งตม. โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.30
2. กรณีที่แรงงานต่างด้าวย้ายที่พักใหม่ เจ้าของที่พักแห่งใหม่มีหน้าที่ต้องแจ้งตม. โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.30 และแรงงานต่างด้าวมีหน้าที่ต้องแจ้งตม. ตามมาตรา 37 โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.28 และต้องแจ้งทุกครั้งที่มีการย้ายที่พักอาศัย
ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำการแจ้งตม.ได้สะดวกถึง 3 ช่องทางคือ
1. แจ้งด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ ตม.ในพื้นที่
2. แจ้งผ่านการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
3. แจ้งผ่านเว็บไซต์ www.immigration.go.th/

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนทำงาน ทำความเข้าใจกับการขอ Work Permit
หลายคนคงเคยตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ที่มีโครงสร้างองค์กรเป็นระบบ โดยทางบริษัทจะมีใบส่งตัวและกำหนดโรงพยาบาลที่เราต้องไปตรวจสุขภาพเอาไว้ชัดเจน แต่ในทางกฎหมายแล้วไม่ได้มีข้อบังคับใด ๆ ว่าต้องตรวจสุขภาพก่อนทำงาน แต่บังคับเฉพาะงานที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น เช่น งานเกี่ยวกับสารเคมี งานที่สภาพแวดล้อมเสียงดัง งานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินมูลค่าสูง เป็นต้น
ส่วนในกรณีกรของแรงงานชาวต่างชาติ การขอเอกสาร Work Permit เพื่อทำงานในประเทศไทย เป็นขั้นตอนสำคัญตามกฎหมายที่แรงงานต่างชาติทุกคนต้องทำไว้ตามที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกำหนด ควบคู่กับการขอวีซ่าเผื่อให้ผ่านด่าน ตม. อย่างถูกกฎหมาย การตรวจสุขภาพจึงอาจไม่ได้จำเป็นสำหรับแรงงานทุกคน แต่ถ้าเป็นงานที่อยู่ในความเสี่ยงตามที่กฎหมายกำหนด ก็ต้องมีการตรวจสุขภาพ แม้ไม่ใช่งานเสี่ยงหากนายจ้างต้องการใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารประกอบการสมัครงาน ก็ต้องดำเนินการตรวจสุขภาพเอาไว้ เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีข้อดีดังนี้
- ทำให้ทั้งบริษัทและแรงทำงานมั่นใจว่า ตัวเองไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง ที่อาจส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงาน
- ทำให้แรงงานรู้แนวโน้มด้านสุขภาพของตนเอง เป็นข้อมูลประกอบการดูแลสุขภาพระหว่างทำงานด้วย
- บริษัทที่มีการขอให้ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มั่นคง และมีการทำงานเป็นระบบ แรงงานจึงมีความมั่นใจในสวัสดิการของบริษัทได้มากขึ้น และได้ทำงานอย่างถูกกฎหมายด้วย
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลตรวจสุขภาพที่แม่นยำ
การตรวจสุขภาพเพื่อประกอบการขอ Work Permit ไม่จำเป็นต้องตรวจกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น สามารถเข้ารับบริการตรวจเพื่อขอใบรับรองแพทย์กับคลินิกเวชกรรมที่มีความน่าเชื่อถือได้ด้วย ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์จะมีอายุ 60 วันนับตั้งแต่วันที่ตรวจ ดังนั้นควรวางแผนโดยการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติสุขภาพให้พร้อม เช่น ฟิล์มเอกซเรย์ที่เคยตรวจมาแล้ว ประวัติการตั้งครรภ์ ข้อมูลวันที่เป็นประจำเดือนล่าสุด เป็นต้น เพื่อให้คุณหมอดำเนินการซักประวัติและเตรียมพร้อมในขั้นตอนการตรวจได้อย่างรวดเร็ว และการเตรียมร่างกายก่อนตรวจสุขภาพควรทำตามคำแนะนำเหล่านี้
- งดดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารก่อนเข้ารับการตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนเข้ารับการตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- นอนหลับให้เพียงพอในคืนก่อนวันเข้าตรวจ ไม่ปล่อยให้ร่างกายอิดโรย เพื่อให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำ
- สวมเสื้อที่สะดวกต่อการวัดความดันโลหิต และการเจาะเลือดบริเวณข้อพับแขน
- หากมีความเสี่ยงใด ๆ เรื่องโรคประจำตัวหรือประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร ให้แจ้งแพทย์ก่อน
ขั้นตอนการแจ้งตม. เมื่อมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาในไทย และการตรวจสุขภาพเพื่อประกอบการขอ Work Permit นั้นไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็ว และทำให้มั่นใจว่า แรงงานสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะมีสุขภาพร่างกายที่พร้อม
บทความน่าสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว คลินิกตรวจได้ไหม
Leave A Comment